วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กระบี่ กระบี่๋






กระบี่ เมืองชายทะเลในฝัน งดงามด้วยหาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการังสวย ถ้ำโตรกชะโงกผา และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ รวมกันเป็นมนต์เสน่ห์ที่สร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน..."กระบี่" เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 814 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 4,708 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขา ที่ดอน ที่ราบ หมู่เกาะน้อยใหญ่ อุดมไปด้วยป่าชายเลน ตัวเมืองกระบี่มีแม่น้ำยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามันที่ตำบลปากน้ำ


กระบี่


 นอกจากนี้ ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือ เทือกเขาพนมเบญจา จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่า บริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ กล่าวกันว่าดินแดนนี้แต่เดิมคือ เมืองบันไทยสมอ 1 ใน 12 เมืองนักษัตรที่ใช้ตราลิงเป็นตราประจำเมือง ขึ้นกับอาณาจักรนครศรีธรรมราช และยังมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อเมืองกระบี่ว่า อาจมาจากความหมายที่แปลว่า "ดาบ" เนื่องจากมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการขุดพบมีดดาบโบราณก่อนที่จะสร้างเมือง 
กระบี่
"อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา" มีเนื้อที่ประมาณ 152 ตารางกิโลเมตร ในอำเภอเกาะลันตา ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ เกาะลันตาใหญ่ เกาะลันตาน้อย เกาะตะเล็งเบ็ง และเกาะใกล้เคียง รวมไปถึงหมู่เกาะห้า หมู่เกาะรอก และเกาะไหง
เกาะที่น่าท่องเที่ยวของอุทยานฯ ได้แก่

           "เกาะลันตาน้อย" เป็นเกาะที่เป็นชุมชนของชาวเกาะลันตาในอดีตมาก่อน มีที่ว่าการอำเภอ มีโรงเรียนวิถีชีวิตแบบเก่าๆ บ้านเรือนโบราณก็ยังมีให้พบเห็น

           "เกาะลันตาใหญ่" มีรูปร่างยาวเรียวจากเหนือมาใต้ ศูนย์กลางธุรกิจของเกาะอยู่ที่บริเวณท่าเรือศาลาด่าน ซึ่งมีทั้งบริการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ธนาคาร (โห... ครบเลย) ด้านตะวันตก เรียงรายไปด้วยชายหาดและอ่าวที่สวยงามมากมาย ได้แก่ หาดคอกวาง หาดโละบารา อ่าวพระแอะ หาดคลองโขง หาดคลองนิน และมีถนนตัดจากท่าเรือตอนเหนือผ่านชายหาดต่างๆ ไปจนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตาซึ่งอยู่ตอนใต้สุดของเกาะ บนเกาะลันตาใหญ่มีที่พักเอกชนเปิดให้บริการมากมาย ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม

           "สุสานหอย" อยู่บริเวณชายทะเลบ้านแหลมโพธิ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร สภาพเป็นลานหินกว้างยื่นลงไปในทะเล เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ จะเห็นเป็นซากหอยอัดแน่นจนกลายเป็นหาดหินริมทะเล ทั้งนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา โดยบริเวณนี้เดิมเป็นหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ มีหอยอาศัยอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะหอยขม ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณพื้นผิวโลก และน้ำทะเลไหลมาท่วมหนองน้ำ ทำให้ธาตุหินปูนในน้ำทะเลหุ้มเปลือกหอยจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน กลายเป็นแผ่นหินแข็งหนาประมาณ 40 เซนติเมตร ต่อมาแผ่นดินถูกยกตัวขึ้นจีงปรากฏเป็นลานหินกว้างใหญ่ริมทะเล จากการคำนวณอายุทางธรณีวิทยาพบว่า ฟอสซิลเหล่านี้มีอายุราว 40 ล้านปี (อู้ว... สุดยอด!!)

           "อ่าวนาง" เป็นหาดทรายทอดยาว มีถนนเลียบชายหาด เป็นที่ตั้งของร้านค้า ที่พัก บริษัทนำเที่ยวหลายแห่ง ทิวทัศน์โดยรอบสวยงามด้วยภูเขาหินปูนสูงตระหง่าน เป็นจุดเช่าเรือไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ ได้แก่ หาดไร่เล ถ้ำพระนาง และเกาะต่างๆ ในทะเลกระบี่ จากตัวเมืองมีรถสองแถวไปยังอ่าวนาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที

           "หาดไร่เล" เป็นหาดทรายสีขาวละเอียดริมโตรกผา เป็นที่รู้จักดีในหมู่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรมปีนหน้าผา แบ่งออกเป็นหาดไร่เลตะวันออก และหาดไร่เลตะวันตก มีโขดหินคั่นระหว่างหาดทั้งสอง บริเวณหาดมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวหลายแห่ง เดินทางเข้าถึงได้โดยทางเรือจากอ่าวนางใช้เวลา 10 นาที

           "หมู่เกาะปอดะ" อยู่ทางทิศใต้ของอ่าวนาง ห่างจากฝั่งประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาว น้ำทะเลใส บริเวณชายฝั่งของเกาะจะมองเห็นแนวปะการังหลากชนิดที่ยังสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งดึงดูดของนักท่องเที่ยวให้เที่ยวชมได้เกือบตลอดปี และเป็นจุดที่ตกปลาได้ดีเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากลมมรสุมมากนัก สามารถเช่าเรือได้จากบริเวณอ่าวนาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 25 นาที ใกล้ๆ กับเกาะปอดะเป็นที่ตั้งของเกาะทัพ เกาะหม้อ เกาะหัวขวาน เกาะไก่ ซึ่งมีสันทรายเชื่อมต่อกันสวยงามมองเห็นได้เวลาที่น้ำลง

"หมู่เกาะพีพี" เป็นหมู่เกาะกลางทะเล อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 42 กิโลเมตร เดิมชาวทะเลเรียกหมู่เกาะนี้ว่า "ปูเลาปิอาปิ" คำว่า "ปูเลา" แปลว่า เกาะ คำว่า "ปิอาปิ" แปลว่า ต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งจำพวกแสม และโกงกาง ต่อมาเรียกว่า "ต้นปีปี" ซึ่งภายหลังกลายเสียงเป็น “พีพี” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรแห่งบุปผาใต้สมุทร นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวหมู่เกาะนี้ส่วนใหญ่มาเพื่อดำน้ำดูปะการังดอกไม้ทะเล และปลาหลากสีสันที่สวยงาม นอกจากนี้ ยังมีเกาะต่างๆ ที่อยู่ระหว่างเส้นทางเดินเรือ กระบี่ – ภูเก็ต - หมู่เกาะพีพี ประกอบด้วยเกาะ 6 เกาะ คือ เกาะพีพีเล เกาะพีพีดอน เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ เกาะบิดะนอก และเกาะบิดะใน ซึ่งแต่ละเกาะมีหาดทรายสวย น้ำทะเลใส 


อ้างอิง
http://travel.kapook.com/view913.html



ชมวิวเรือนยอดไม้ ณ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย)




ป่าใหญ่กลางเมือง แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่ตั้งสะพานศึกษา เรือนยอดไม้แห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย...นี่คือคำจำกัดความของ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) หรือ Peninsular Botanical Garden
        สถานที่ท่องเที่ยวสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติและพรรณไม้โดยเฉพาะ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ถนนตรัง-ปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ในพื้นที่ 2,600 ไร่ และวันนี้กระปุกดอทคอมเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อเรียนรู้ธรรมชาติที่ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) กันค่ะ
สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้
สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย)


สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้


ความเป็นมา
  สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) แต่เดิมชื่อ สวนรุกขชาติทุ่งค่าย เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2529 โดยกรมป่าไม้ ตามนโยบายของนายชวน หลีกภัย (ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 และเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์ไม้ - สัตว์ป่า และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนทั่วไป
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2536  ได้พัฒนายกฐานะเป็น สวนพฤกษศาสตร์ และมี ศ.ดร.เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์ป่าไม้ เป็นประธาน จากนั้นในปี พ.ศ. 2546 มีการปรับปรุงระบบราชการ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) จังหวัดตรัง มาสังกัดสำนักบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 20 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
หากเอ่ยถึงพื้นที่ป่าไม้ ทุกคนคงนึกถึงผืนป่าใหญ่กว้างขวาง มีเทือกเขาทอดตัวเป็นแนวยาว หรือมีเขาสูงเตี้ยสลับกันไป แต่ สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ เป็นต้นน้ำของลำห้วยเล็ก ๆ ลักษณะป่าจะเป็นป่าดิบชื้น ป่าพรุ และทุ่งหญ้า เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่แวดล้อมด้วยชุมชมเล็ก ๆ โดยรอบ จึงกล่าวได้ว่าเป็นเมือง (ชุมชน) ล้อมป่า มิใช่ป่าล้อมเมืองเฉกเช่นผืนป่าโดยทั่วไป ในอดีตผืนป่าแห่งนี้เป็นแหล่งอาหารของชุมชน มีชาวบ้านเข้าไปหาของป่า ทั้งสัตว์ป่า พืชผัก และผลไม้ป่า
สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้





อ้างอิง
http://travel.kapook.com/view26240.html

ttps://www.google.co.th/search?q=สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้+(ทุ่งค่าย)+จังหวัดตรัง
























น้ำตกทีลอซู จังหวัด ตาก


น้ำตกทีลอซู ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชีย[ต้องการอ้างอิง]
ตามความจริงต้องออกเสียงว่า "ทีลอชู" และเป็นคำนามในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า "น้ำตก" ชื่อ "ทีลอซู" เป็นความพยายามแปลความหมายทีละคำ โดย "ที" หรือ "ทิ" แปลว่า "น้ำ" "ลอ" หรือ "ล่อ" แปลว่า "ตก" แต่ "ชู" ไม่มีความหมายใกล้เคียง ดังนั้น จึงมีความพยายามทำให้เป็นคำที่มีความหมาย เนื่องจาก "ซู" แปลว่า "ดำ" จึงนำไปสู่การเรียกว่า "ทีลอซู" และแปลว่า "น้ำตกดำ"
ทีลอซู ได้รับคำกล่าวขานถึงว่าเป็นน้ำตกที่สวยงาม และมีความสวยงามเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน ระหว่าง 1 มิ.ย. - 31 พ.ย. ปริมาณน้ำฝนที่มากจะเพิ่มปริมาณน้ำในลำธารทำให้สายน้ำตกกว้างใหญ่กว่าฤดูอื่น แต่เป็นช่วงที่ทางรถเข้าน้ำตกปิด เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้เส้นทางและถนอมสภาพทางไม่ให้เสียหาย นักท่องเที่ยวอาจเลี่ยงใช้เส้นทางนี้ได้ โดยการซื้อทัวร์กับบริษัทนำเที่ยวซึ่งจะเดินทางด้วยเรือยางและเดินป่าอีกราว 12 กม.แต่หากมาท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว - ฤดูร้อนระหว่าง 1 ธ.ค. - 31 พ.ค. ก็สามารถใช้ทางรถยนต์เข้าน้ำตกได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เที่ยวได้สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเที่ยวแบบไปกลับหรือพักค้างแรม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้น้ำตกทีลอซู เป็นหนึ่งในเก้าตะวัน ตามโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน โดยมีจุดเด่นคือ "มหัศจรรย์รุ้งกินน้ำที่น้ำตกทีลอซู"



 ประวัติน้ำตกทีลอซู

ทีลอซู ได้รับการค้นพบโดยพรานชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งที่เดินเข้ามาล่าสัตว์ ก่อนที่ ตชด.ได้บินเข้ามาสำรวจในพื้นที่และได้พบน้ำตกทีลอชู ต่อมากรมป่าไม้จะประกาศให้บริเวณนี้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และหลังจากปี พ.ศ. 2528 ที่ อำเภอ ปรีชา อินทวงศ์ พาบุคลากรของนิตยสารท่องเที่ยวแคมปิง เข้าไปสำรวจน้ำตกทีลอซูและนำไปตีพิมพ์ลงนิตยสารจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนภายนอกรู้จัก
"ทีลอซู" หรือออกเสียงตามภาษาภาษาปะก่าหญอว่า "ที-หล่อ-ชู" ที แปลว่า น้ำ, หล่อ แปลว่า ไหล และ ชู แปลว่า ทิ้มแทง (หล่อ-ชู เป็น กิริยา หมายถึง การไหลลงมาอย่างแรงของน้ำปะทะกับพื้นเบื้องล่าง) ดังนั้นจึงแปลว่าน้ำตก (บางท่านบอกว่าแปลว่า น้ำตกดำ คำว่า "ดำ" ไม่ได้ออกเสียงว่า ซู แต่ออกเสียงคล้ายๆกัน ไม่รู้จะเขียนเป็นอักษรไทยอย่างไร เพราะเสียงนี้ไม่มีในภาษาไทย ต้องออกเสียงให้ฟังนะครับ ถึงจะแยกความแตกต่างได้) น้ำตกนี้ซ่อนอยู่ในหลืบผาอันกว้างใหญ่ สายน้ำเกิดจากห้วยกล้อทอซึ่งมีแดนกำเนิดอยู่บนดอยผะวี แล้วไหลลงแม่น้ำแม่กลองที่ ตำบล แม่ละมุ้ง อำเภอ อุ้มผาง
การค้นพบที่กล่าวถึงเป็นการพบของคนไทย จากงานของ ประชา แม่จัน ในหนังสือ "อุ้มผาง เบื้องหลังธรรมชาติ" [1] เขียนถึง บริเวณที่ตั้งแคมป์ทีลอชู เป็นบ้านเก่าชาวปกากะญอ (กะเหรี่ยง) เรียกว่า "ว่าชื่อคี" บริเวณที่จอดรถเป็นที่นาเก่าของชาวบ้านที่นี่ การที่เป็นบ้านร้างเพราะชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายไปอยู่บ้านโขะทะเพื่อเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เหลือย้ายเข้ามาอยู่กับฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น ชาวปกากะญอที่นี่รู้จักน้ำตกทีลอชูมาช้านานแล้ว


สิ่งที่น่าสนใจ


เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 1.5 กม.ก่อนถึงน้ำตกจะผ่านป่าไผ่และป่าเบญจพรรณ มีดอกกระเจียวขึ้นตามพื้นป่าระหว่างทางมีป้ายสื่อความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติและพืชพันธุ์ตามจุดต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษา เมื่อถึงบริเวณน้ำตก จะเห็นละอองน้ำฟุ้งกระจายไปทั่วโขดหินเบื้องล่าง มองเห็นธารน้ำตกลงมาจากผาหินปูนซึ่งอยู่สูงประมาณ300ม. ตามแนวกว้างกว่า500 ม. ท่ามกลางป่าครึ้ม อาจแบ่งธารน้ำตกได้เป็นสามกลุ่ม คือกลุ่มด้านซ้ายมือ (เมื่อหันหน้าเข้าหาน้ำตก) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดสูงที่สุด และเป็นด้านที่สวยที่สุด มีธารน้ำตกหลายสายไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเชิง ส่วนกลุ่มตรงกลาง สายน้ำไหลลงมาจากหน้าผาสูงชันใกล้เคียงกบกลุ่มซ้ายมือแต่ไม่เป็นชั้นและแคบกว่า ส่วนหลุ่มทางขวามือ มีสายน้ำตกมากและหน้าผาเตี้ยกว่าสองกลุ่มแรก เมื่อมองทั้งสามกลุ่มรวมกันจะเห็น น้ำตกทีลอซู ที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม บริเวณด้านล่างมีทางเดินไปยังจุดชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขาฝั่งตรงกันข้าม เป็นจุดที่มองเห็น น้ำตกทีลอซู ได้สวยงามและชัดเจนขึ้น ใช้เวลาเดินไปกลับประมาณ 2 ชม.







การเดินทาง

การเดินทาง รถยนต์ จากอำเภออุ้มผางใช้เส้นทางสายอุ้มผาง-แม่สอด ถึงหลักกิโลเมตรที่ 161 มีทางแยกซ้ายที่บ้านแม่กลองใหม่ไปด่านเดลอ หรือจุดตรวจ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางเป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร (สำหรับนักท่องเที่ยวที่ขับรถเข้าน้ำตกทีลอซูต้องติดต่อขอรับใบอนุญาตเข้าที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง (สป. ๗) ได้ที่ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผางก่อนทุกครั้ง นักท่องเที่ยวต้องยื่น สป. 7 ที่ด่านเดลอ) จากนั้นเดินทางไปตามถนนลูกรังอีก 26 กิโลเมตร ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 3 ชั่วโมง เส้นทางช่วงนี้เป็นทางดิน ควรใช้รถปิคอัพ หรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อที่ช่วงล่างมีความสูงมากพอสมควร ในฤดูฝนรถอาจเข้าไม่ได้ และจากที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จึงถึงตัวน้ำตกทีลอซู

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org
https://www.google.co.th/search?q=น้ำตกทีลอซู





























สถานที่ท่องเที่ยวดอยอ่างขาง จังหวัด เชียงใหม่


สถานที่ท่องเที่ยวดอยอ่างขาง จังหวัด เชียงใหม่




                           ดอยอ่างขาง


ดอยอ่างขาง  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ 137 กม. แยกซ้ายเข้าไปอีก 25 กม.  ดอยอ่างขางเป็นเทือกดอยสูงติดกับสันเขาพรมแดนประเทศพม่า จุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไปเยือนดอยอ่างขางคือการไปเที่ยวชมดอกไม้เมืองหนาวภายโครงการหลวงอ่างขาง   สถานีเกษตรดอยอ่างขางได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่นและหยุดการทำลายป่า  ดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบในหุบเขาลักษณะเหมือนท้องกะทะหรือเหมือนอ่าง อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,400 เมตร   ภายในโครงการมีสถานที่น่าสนใจได้แก่ แปลงทดลองปลูกพืชผลไม้เมืองหนาว ได้แก่ สวนบ๊วย สวนท้อ สตอบอรี่ กีวี่ พลับ สาลี่ เบอลี่ บูล ภายในโครงการหลวงมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่ สวนแปดสิบ โรงเรือนไม้ในร่ม  โรงเรือนกุหลาบ แปลงผัก ป่าซากุระ ป่าเมเปิล พระตำหนักอ่างขาง สวนบอนไซ

สถานีเกษตรหลวงอางขาง


สวนแปดสิบ   เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาวตั้งอยู่ใจกลางสถานีเกษตร สร้างขึ้นในวโรกาสที่หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธีโครงการหลวงมีพระชนพรรษาครบ 80 พรรษา  เป็นแหล่งรวบรวมไม้ดอกเมืองหนาวปลูกลงแปลงไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ชม และยังมีซากุระแท้ๆ จากญี่ปุ่นให้ชมด้วยซึ่งจะออกดอกสวยงามในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ส่วนไม้ดอกเมืองหนาวที่ปลูกลงแปลงชนิดอื่นที่ปลูกลงแปลงมีการปลูกสับเปลี่ยนให้มีดอกสวยงามตลอดทั้งปี

พระตำหนักอ่างขาง เป็นพระตำหนักหลังเล็กๆ ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าเมเปิ้ลบนเนินเขาด้านเหนือของสวนแปดสิบ ในช่วงที่เมเปิ้ลเปลี่ยนสีหรือช่วงที่เมเปิ้ลผลัดใบใหม่จะมีความสวยงามมาก สถานที่แห่งนี้นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปชมได้
                                                                               โรงเรือนปลูกผักเมืองหนาว ดอยอ่างขาง

เป็นโรงเรือนพลาสติกขนาดใหญ่   ตั้งอยู่ทางด้านหลังโครงการบริเวณทางออก  ภายในโรงเรือนทำเป็นแปลงปลูกพืชผักเมืองหนาวหลายชนิด ด้านหลังของโรงเรือนเป็นโรงปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน ผลผลิตที่ได้ส่งขายที่ร้านจำหน่ายผลผลิตของโครงการหลวงอ่างขางบริเวณโรงเรือนไม้ในร่ม
ภาพพืชผักในโรงเรือน
แปลงปลูกในโรงเรือน
   
บริเวณโรงปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน


สวนบ่อนไซ

และนี้ก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งในเชียงใหม่

การเดินทางไปดอยอ่างขาง
 จากเชียงใหม่ ใช้เส้นทางสาย 107 เชียงใหม่-ฝาง เป็นเส้นทางผ่านแม่ริม แม่แตง เชียงดาว ทางแยกเข้าดอยอ่างขางมี 2 เส้นทาง คือ แยกซ้ายที่ กม.79 เป็นเส้นทางใหม่ที่ไม่ชันมากแต่ทางจะเปลี่ยวหน่อย ระยะทางจากแยกทางหลวงสาย 107 ไปจนถึงอ่างขางมีระยะทางประมาณ 50 กม.อีกเส้นทางคือแยกที่ กม.137 มีระยะทางถึงอ่างขางประมาณ 25 กม. เป็นเส้นทางที่สั้นแต่ชันมาก รถเก๋งและรถทุกชนิดขึ้นได้ถ้าคนขับมีฝีมือ ถ้าไม่แน่ใจให้จอดรถไว้ที่วัดที่ปากทาง กม.137 หรือจอดรถไว้ที่บริเวณลานจอดรถเอกชนมีรั้วมิดชิด สถานที่รับจอดรถอยู่ตรงข้ามกับปากทางเข้าดอยอ่างขาง ค่ารถจอดคันละ 50 บาท แล้วนั่งรถสองแถวขึ้นไป หรือเหมารถขึ้นไป  เส้นทางขึ้นดอยอ่างขางสูงชันคดเคี้ยวและอันตรายถึงแม้ปัจจุบันมีการปรับปรุงผิวทางจราจรไว้ดีแล้วก็ยังมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย  ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากเบรคไหม้เบรคแตกขณะลงเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถเกียร์ออโต้
การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ให้นั่งรถทัวร์สายกรุงเทพฯ - ท่าตอน ลงที่ปางทางอ่างขางหากเริ่มจากเชียงใหม่ให้ไปขึ้นรถที่สถานีขนส่งช้างเผือกมีทั้งรถตู้และรถสองแถวบริการ และยังมีรถเมล์โดยสารสายเชียงใหม่-ท่าตอน วิ่งบริการด้วยจากปากทางอ่างขาง กม. 137  มีรถสองแถวโดยสารให้บริการ มีทั้งแบบเหมาคันและแบบรถวินเต็มออก

อ้างอิง

http://www.tourdoi.com/doi/angkrang/general.htm





วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เชียงใหม่ เมืองแห่งการท่องเที่ยว


เชียงใหม่ เมืองแห่งการท่องเที่ยว

 วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปท่องเที่ยวจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยว นั่นก็คือ จังหวัดเชียงใหม่ เมืองใหญ่ทางภาคเหนือของไทยเรา ขอบอกว่าเที่ยวจังหวัดเดียวนี่คุ้มเกินคุ้ม เพราะสถานที่ท่องเที่ยวเยอะมาก ๆ จริง ๆ ว่าแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่า ว่ามีที่ไหนน่าเที่ยวกันบ้าง


                          

 วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ

เดินทางตามถนนห้วยแก้วผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็น ตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยประมาณ 11 กม. เมื่อขึ้นมาถึงจะมองเห็นบันไดทอดยาวขึ้นไปสู่วัด และมีนาค 2 ตัว อยู่สองข้างบันไดซึ่งสูง 300 กว่าขั้น วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้ เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวซึ่ง เดินทางไปเชียงใหม่ จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้ ประดิษฐานอยู่บนดอยสุเทพ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,051 ฟุตและและเป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่เมืองเชียงใหม่ จะมีงานประเพณี สืสรงน้ำพระบรมธาตุในวันเพ็ญวิสาขบูชาทุกปี


บริเวณวัด

ทางขึ้นวัดบรมธาตุดอยสุเทพ



วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ



  1. อ้างอิง


                                       http://www.thailands360.com/Northern/Chiang%20Mai.html